CARE TIPS

โรคและแมลงที่พบในฟาแลนนอฟซิส
1 | โรคเน่าเละ

สาเหตุ จากเชื้อแบคทีเรีย Pseudomonas

gladioli เกิดจากการให้น้ำให้ปุ๋ยไนโตรเจน

มากเกินไป ทำให้ต้นฟาแลนอปซิสที่ปลูกเลี้ยง

มีสภาพอวบน้ำ ต้นไม่แข็งแรง เมื่อเจอกับสภาพอากาศร้อนจัดการถ่ายอากาศในโรงเรือนไม่ดีพอ หรือโรงเรือนที่ไม่มีหลังคากันฝน แรงกระทบกระแทกของน้ำฝนก่อให้เกิดบาดแผล ทำให้เชื้อแบคทีเรียที่มีอยู่ในอากาศร้อนทำลายต้นและลุกลามอย่างรวดเร็ว

ลักษณะอาการ อาการเริ่มแรกจะเป็นจุดช้ำน้ำขนาดเล็กบนใบหรือบนหน่ออ่อนทำให้เนื้อเยื่อมีลักษณะเหมือนถูกน้ำร้อนลวก คือ ใบจะพองเป็นสีน้ำตาล ฉ่ำน้ำถ้าเอามือจับเบาๆ จะเละติดมือและมีกลิ่นเหม็น ซึ่งจะขยายลุกลามออกไปทั้งใบและหน่ออย่างรวดเร็วโดยเฉพาะในฤดูฝนที่มีสภาพอากาศร้อนและความชื้นสูง
การป้องกันและกำจัด เผาทำลาย ถ้าเป็นไม่รุนแรงให้แยกออกจากกลุ่มต่างหาก ตัดส่วนที่เป็นออกแล้วทาด้วยปูนแดงที่บาดแผลที่ตัดทิ้ง งดน้ำ งดปุ๋ย หรือเลื่อนวันให้ปุ๋ย ในช่วงที่มีฝนตกหนักควรมีหลังคาพลาสติกคลุมอีกชั้นหนึ่ง ไม่ควรปลูกฟาแลนอปซิสหนาแน่นเกินไป เพราะจะทำให้อากาศระหว่างต้นไม่ถ่ายเทเกิดความชื้นสูง และง่ายแก่การเกิดโรค สำหรับยาเพื่อใช้กำจัดแบคทีเรีย Pseudomonas gladioli คือ streptomycin,copper oxychloride
2 | โรคเน่าดำ หรือเน่าเข้าใส้

สาเหตุ จากเชื้อ Phytopthora palmivora Butl. ระบาดได้ง่าย ในช่วงฤดูฝน ในสภาพอากาศที่มีความชื้นสูงสปอร์แพร่กระจายไปกับน้ำที่ใช้รดต้นไม้

ลักษณะอาการ อาการเริ่มจากส่วนยอด ใบเริ่มแรกเป็นจุดใสชุ่มน้ำมีสีเหลือง ต่อมาเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล และสีดำในที่สุดแผลขยายลุกลามอย่างรวดแพร่กระจายไปยังต้นอื่นๆ ใบร่วงหลุดจากต้นได้ง่าย อาการที่ต้นที่ถูกเชื้อเข้าทำลายทางยอดลงมาหรือโคนต้นเมื่อดมดูจะมีกลิ่น เปรี้ยว คล้ายกลิ่นน้ำส้มสายชู ใบเหลืองและเน่าดำหลุดจากต้นโดยง่าย เมื่อพบว่าเป็นโรคนี้ให้ถอนทิ้ง และเผาทำลาย

การป้องกันและกำจัด ควรปรับสภาพเรือนโรงให้โปร่งเว้นระยะให้ทางลมพัดผ่านได้สะดวก เผาทำลายต้นที่เป็นโรคทิ้ง ตัดแยกส่วนที่ยังไม่ตทิดเชื้อ ควรฆ่าเชื้อกรรไกรที่ใช้ตัดด้วยการลนไฟ หรือจุ่มแอลกอฮอล์ เมื่อตัดแล้วก็ทาด้วยปูนแดงเพื่อกันเชื้อโรคเข้า ใช้ยาป้องกันเชื้อราพ่นสัปดาห์ละครั้ง เป็นพวก mancozeb,methalaczyl

3 | โรคเหี่ยวหรือเน่าแห้ง
ที่เกิดจากเชื้อราเมล็ดผักกาด

สาเหตุ เกิดจากเชื้อ Sclerotium rolfsii เป็นเฉพาะส่วนของโรงเรือนที่มีการระบายอากาศไม่ดี และแฉะ
ลักษณะอาการ เชื้อมักแพร่ระบาดจากพื้นดิน เข้าทำลายบริเวณรากและโคนต้น โดยเห็นเชื้อเป็นเส้นใยสีขาวหยาบๆ ขึ้นแทรกแล้วแผ่ขยายจับตามราก ลำต้น และโคนใบ มีเม็ดกลมๆ เล็กๆ สีขาวและน้ำตาลไหม้ขนาดเมล็ดผักกาดขึ้นปะปนอยู่กับเส้นใบ รากแห้งเปราะและเป็นผงเมื่อขยี้ด้วยมือ เนื้อเยื่อบริเวณโคนต้นถูกทำลายจนเน่าแห้งและหลุดง่าย
การป้องกันและกำจัด หากพบต้นที่เป็นโรค ควรเผาทำลายทิ้งและฉีดพ่นด้วยยา captan, หรือ carbendazym เป็นต้น
4 | เพลี้ยไฟ
สาเหตุ เพลี้ยไฟหรือตัวกันสี เป็นแมลงปากดูดที่มีขนาดเล็กมากมีความยาวประมาณ 1⁄2 – 2 มิลลิเมตร รูปร่างเรียวยาว ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยมีลักษณะคล้ายกัน แต่ตัวอ่อนไม่มีปีก ตัวอ่อนมีสีเหลืองอ่อนหรือสีน้ำตาลก่อน หรือสีดำ ตัวแก่มีปีกซึ่งมีลักษณะแคบยาวมักจะพบเห็นตัวอ่อนเกาะบนฟาเลนอปซีส เพลี้ยไฟมีการเคลื่อนไหวรวดเร็วมาก ถ้าไม่สังเกตจะมองไม่เห็นตัว
ลักษณะอาการ เพลี้ยไฟเป็นแมลงที่ดูดน้ำเลี้ยงจากส่วนที่อ่อนๆ เช่น ตามยอด ตาและดอก มักพบเพลี้ยไฟเข้าทำลายฟาแลนอปซีสในฤดูร้อนและฤดูฝน ทำความเสียหายมากแก่ฟาแลนอปซีสในระยะที่ดอกตูมและดอกกำลังบาน โดยการดูดกินน้ำเลี้ยง ทำให้ดอกตูมชะงักการเจริญเติบโต เป็นสีน้ำตาล และแห้งคาก้านช่อดอก ส่วนอาการที่ดอกบานเริ่มแรกจะเห็นเป็นรอยแผลสีซีดขาวที่ปากหรือกระเป๋าและตำแหน่งของกลีบดอกที่ซ้อนกัน ต่อมาแผลจะกลายเป็นสีน้ำตาลเรียกว่า “ดอกไหม้หรือปากไหม้” ดอกเหี่ยวแห้งง่าย
การป้องกันและกำจัด การป้องกันไม่ให้มีเพลี้ยไฟเกิดขึ้นในโรงเรือนจะทำได้ง่ายกว่าการกำจัด โดยการทำบริเวณภายในและภายนอกโดยรอบให้สะอาด ไม่ให้มีแหล่งที่พักของแมลง ถ้ามีการระบาดให้ใช้ยา carbosulfan ,carbaryl ,imidacioprid เป็นต้น
5 | เพลี้ยหอย เพลี้ยแป้ง แมลงสีทอง
การป้องกันและกำจัด ไช้ไวท์ออย หรือปิโตเลียมออย ในชื่อการค้าต่างๆ ร่วมกับยาฆ่าแมลง ข้อระวังห้ามใช้ไวท์ออย ร่วมกับยาที่มีส่วนผสมของกัมมะถันอย่างเด็ดขาด

6 | ทาก หอยทาก หอยหอมเล็กพื้นเมือง
หอยเจดีย์เล็ก หอยสังข์เล็ก หอยวงแป้นตัวเล็ก

สาเหตุ จะระบาดอย่างหนักในช่วงฤดูฝน

การป้องกันและกำจัด ให้ใช้น้ำมันเครื่องที่ใช้แล้วราดบริเวณขาโต๊ะ หรือใช้เศษผ้าชุบน้ำมันผูกไว้ที่ขาโต๊ะ หรืออาจจะใช้ยาเบื่อหอยแองโกล โรยที่โคนเสาโต๊ะ และหว่านบนโต๊ะกล้วยไม้หากยาเบื่อไม่ได้ผล ใช้ยาไวเดท L และเดทมีน ฉีดพ่นให้เป็นกลุ่มทุก 7 วัน จำนวน 3 ครั้ง การใช้สารเคมีเหล่านี้ให้เป็นทางเลือกสุดท้าย

7 | ตะไคร่น้ำ
สาเหตุ เกิดจากความชื้นตลอดเวลา

การป้องกันและกำจัด ใช้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ 50% เกรดอุตสาหกรรม 1 ลิตร และกรดน้ำส้มเข้มข้น 99% เกรดอุตสาหกรรม 500 cc ต่อน้ำ 1 คิวบิกเมตร หรือ ไดยูรอน หรือไฟซาน